วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 15 วันที่ 27 กันยายน 2554

อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด และอาจารย์ก็สอนวิธีการวัดและประเมินผลวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีแนวการวัดอย่างไร

ครั้งที่ 14 วันที่ 20 กันยายน 2554

ไม่ได้เข้าเรียน
เนื่องจากเข้าโรงพยาบาลค่ะ

ครั้งที่ 13 วันที่ 13 กันยายน 2554

กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน เรื่องหน่วยกล้วย และอาจารย์ถามว่าเรื่องที่เราเอามานั้นเอามาจากไหน หัวข้อเรื่องที่เราจะนำมาสอนเราก็ต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.            สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
2.             เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
3.             บุคคลและสถานที่
4.            ธรรมชาติรอบตัว
 และในแผนการสอนมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่เด็กต้องเรียนรู้ สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ มีดังนี้
1.            วัตถุประสงค์
2.            สารการเรียนรู้
3.            ประสบการณ์สำคัญ
4.            กิจกรรมการสอน
          - ขั้นนำ
          - ขั้นสอน
          - ขั้นสรุป
สมรรถณะของเด็กประกอบไปด้วย
1.            ด้านร่างกาย การปีนป่าย การเคลื่อนไหว
2.            อารมณ์/จิตใจ แสดงความรู้สึก รับรู้ การกระทำ
3.            สังคม การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น แบ่งปัน
4.            ภาษา การพูด การสื่อสาร
5.            วิทยาศาสตร์ :  การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
6.            คณิตศาสตร์ : การวัด คาดคะเน
7.            สร้างสรรค์ :  การทำงานศิลปะสร้างสรรค์ จินตนาการ
ประสบการณ์สำคัญสำคัญของเด็กประกอบไปด้วย
1.            กิจกรรมการเคลื่อนไหว
2.            กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ( ด้านสติปัญญา ทักษะที่สำคัญ )
3.            กิจกรรมกลางแจ้ง
4.            กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.            กิจกรรมเสรี
6.            กิจกรรมเกมการศึกษา

ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ...

การทดลองที่ 1 

- ต้มน้ำเเข็งให้เป็นของเหลวเมื่อเกิดเป็นไอ เอาน้ำเเข็งในจานมาวางด้านบน 
ผลที่เกิดขึ้น คือ กลายเป็นหยดน้ำ

การทดลองที่ 2 

- หาภาชนะมา 2 เเบบ [ เเบบที่ 1 เเก้ว เเบบที่ 2 จาน ] นำน้ำมาเทลงในภาชนะทั้ง 2 เเล้วนำไปตากเเดด 1 วัน ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำในจานลดลง [ เพราะ ภาชนะที่มีผิวหน้ากว้างจะเเห้งเร็วกว่าภาชนะที่มีผิวหน้าเเคบ]

การทดลองที่ 3 

- นำน้ำมาเทใส่เเก้วจนเต็ม นำกระดาษมาปิดปากเเก้ว เเล้วนำไปเเช่ตู้เย็น ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำกลายเป็นน้ำเเข็งจนล้นเเก้ว [ เพราะ น้ำจะมีโมเลกุลที่อัดตัวกันเเน่น เมื่อเเช่เย็นโมเลกุลจะ ขยายตัว ]

การทดลองที่ 4 

- นำเเครอทมาเทใส่ลงในเเก้ว ที่เราใส่น้ำเกลือเอาไว้ ผลที่เกิดขึ้น คือ เเครอทลอยเหนือน้ำ [ เพราะ ในเเก้วที่มีน้ำเกลือ มีโมเลกุลลดน้อยลง ]

การทดลองที่ 5 

- หาขวดน้ำมา 1 ใบ เจาะรูให้ตรงกัน 3 รู เมื่อเจาะเสร็จก็ปิดรูทั้ง 3 เเล้วใส่น้ำในขวดให้เต็ม จากนั้นก็เปิดทีละรู ผลที่เกิดขึ้น คือ น้ำทั้ง 3 รู พุ่งไปเท่ากัน [ รูที่ 3 พุ่งไกลที่สุด เพราะ เกิดจากเเรงดันของน้ำ]

ครั้งที่11วันที่ 30 สิงหาคม 2554

สาระการเรียนรู้มาจาก เนื่อหา ดังนี้
-สิ่งที่อยู่รอบตัว
-เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
-บุคคลและสถานที่
-ธรรมชาติ

ประสบการณ์สำคัญ
-ร่างกาย
-อารมณ์-จิตใจ
-สังคม
-สติปัญญา
-ภาษา
-วิทยาศาสตร์
-คณิตศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-ทีกษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการวัด
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
-ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
-ทักษะการคำนวน


ครั้งที่ 10วันที่23 สิงหาคม 2554

วันนี้เรียนรู้การประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้


  • หลอด
  • ปากกา
  • กระดาษ
  • กล่องลัง
  • กล่องยาสีฟัน
  • กระป๋อง
  • แก้วน้ำ
  • แกนทิชชู
  • ลัง
  • ฝาขวดน้ำ


วัสดุ
ภาชนะ
แกนทิชชู
กล่องนม
ฝาขวดน้ำ
กล่องยาสีฟัน
หลอด
กระป๋อง
ปากกา
ลัง
กระดาษ
แก้ว



ครั้งที่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม 2554

แสงและการมองเห็น
ลำแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นเป็นลำแสงเส้นตรง และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้ วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ เป็นต้น ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น

การสะท้อนของแสง (Reflection)

เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ

เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง

 
  •   รังสีตก กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
  •   รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
  •   เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
  •   มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
  •   มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ

สเปกตรัมของแสง

แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม
 กล่องข้อความ: แสงขาว (Visible light) คือ ช่วงคลื่นแสงที่ทำให้ตาเราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้
ภาพแสดงสเปกตรัมของคลื่นแสงขาว

ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ ก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่เป็นปริซึม แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า
ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม
จากภาพแสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการกระจายของแสงขาวเรียงกันเป็นแถบสีเกิดขึ้น
สีของแสง
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ
เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังภาพ
 
การหักเหของแสง (Refraction of Light)
เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก
การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
ดรรชนีหักเหของตัวกลาง (Index of Refraction)
การเคลื่อนที่ของแสงในตัวกลางต่างชนิดกันจะมีอัตราเร็วต่างกัน เช่น ถ้าแสงเคลื่อนที่ในอากาศจะมีอัตราเร็วเท่ากับ 300,000,000 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าแสงเคลื่อนที่ในแก้วหรือพลาสติกจะมีอัตราเร็วประมาณ 200,000,000 เมตรต่อวินาที การเปลี่ยนความเร็วของแสงเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ทำให้เกิดการหักเห อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต่ออัตราเร็วของแสงในตัวกลางใดๆ เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลาง นั้น